สัญลักษณ์แสดงระดับความเหมาะสมต่าง ๆ ของ การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย

รายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศในแต่ละช่องนั้น จะแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ตามความเหมาะสม ซึ่งมีสัญลักษณ์ 2 แบบ คือ

สัญลักษณ์แบบเดิม

เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดการใช้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีลักษณะดังนี้

ภาพสัญลักษณ์คำอธิบาย
ไฟล์:TVRate2.jpgสัญลักษณ์รูปหน้ายิ้มสีชมพู ตามด้วยตัวอักษร ก.ไก่

เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2 ถึง 6 ปี, รายการนี้มีลักษณะคล้ายกับ สัญลักษณ์ ด. แต่จะเน้นเจาะจงไปหาเด็กเล็ก ซึ่งรายการประเภทนี้ จะให้ความบันเทิงและสาระที่ดูสนุกสนาน สำหรับเด็ก ๆ ที่ควรจะได้รับชมตามความเหมาะสม

สัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์สีฟ้า ตามด้วยตัวอักษร ด.เด็ก

เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 12 ปี และผู้ชมทั่วไป, รายการนี้ จะจัดเน้นเนื้อหาสาระให้กับเด็ก ๆ การใช้สัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์สีฟ้า นั้น สื่อถึงการพัฒนาของเด็ก ๆ ที่จะต้องได้รับสาระจากรายการนี้ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่สามารถให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ ในด้านของสาระความรู้จากรายการประเภทนี้

สัญลักษณ์รูปบ้านสีเขียว ตามด้วยตัวอักษร ท.ทหาร

เป็นรายการทั่วไปที่เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัย, รายการประเภทนี้ เป็นรายการที่ให้สาระและความบันเทิงอย่างไม่มีพิษภัยต่อเด็กและเยาวชน และมีแง่คิดดี ๆ จากสาระให้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งการใช้สัญลักษณ์รูปบ้านสีเขียวนั้น สื่อถึงครอบครัว ที่หมายถึงทุกคนสามารถรับชมรายการประเภทนี้ได้

สัญลักษณ์รูปเครื่องหมายถูกและผิดสีส้มอ่อน ตามด้วยตัวอักษร น.หนู

เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็ก ๆ, รายการเหล่านี้ เป็นรายการที่มีเนื้อหาบางส่วนที่ผู้ปกครองของเด็กควรใช้วิจารณญาณในการชม และควรแนะนำให้กับเด็ก ๆ ว่า เนื้อหาส่วนไหนที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร และไม่ควรให้เด็กดูรายการประเภทนี้ตามลำพัง ซึ่งจะต้องมีผู้ใหญ่มาแนะนำระหว่างชม, สัญลักษณ์นี้จะมี 2 ประเภทย่อยออกไปอีก คือ

ตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 13 ไทย (๑๓) เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี, ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
ตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 18 ไทย (๑๘) เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี, ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
สัญลักษณ์รูปสายฟ้าสีแดง ตามด้วยตัวอักษร ฉ.ฉิ่ง

เป็นรายการเฉพาะผู้ใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน, เมื่อเปิดเจอรายการที่เป็นลักษณะนี้แล้ว จึงไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชมเนื่องจากจะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว สะเทือนใจ มีผลกระทบทางจิตใจ หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพที่มักจะเกี่ยวกับบางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ เพื่อป้องกันการเลียนแบบของเด็ก จากเนื้อหาของรายการนั้นๆ

สำหรับการแสดงสัญลักษณ์นั้น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะใช้ก่อนเข้ารายการตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป

สัญลักษณ์แบบใหม่

ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ใหม่ โดยลดสีของสัญลักษณ์ลง เหลือเพียง 3 สีคือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง (งดใช้สีฟ้าและสีชมพู) โดยแบ่งรายการระดับ น (รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ) ออกเป็น 2 ประเภทคือ 13+ และ น 18+ และยกเลิกรายการระดับ (รายการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน) โดยแบ่งความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์เป็น 6 ระดับ ประกอบกับมติคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศรายการต่างๆ ในแต่ละระดับความเหมาะสมขึ้นไว้ด้วย ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

สำหรับการแสดงสัญลักษณ์นั้นแต่ละสถานีจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบสัญลักษณ์เองโดยบางช่องใช้รูปแบบจากสัญลักษณ์แบบเดิม หรือบางช่องมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น ช่องพีพีทีวี เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีมุมมนหนึ่งมุมที่มุมบนขวา หรือ ช่อง 8 เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมโค้ง

ภาพสัญลักษณ์คำอธิบายช่วงเวลาออกอากาศ
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ป อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๓ และเครื่องหมาย +
ใช้สำหรับรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 3-5 ปี
ไม่จำกัดช่วงเวลา
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปเด็กยิ้มอยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ด อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๖ และเครื่องหมาย +
ใช้สำหรับรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 6-12 ปี
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปบ้านสีขาวอยู่ภายใน ทางขวามือมีอักษร ท อีกแถวหนึ่งมีข้อความว่า ทุกวัย
ใช้สำหรับรายการทั่วไป ที่สามารถรับชมได้ทุกวัย คือไม่มีเนื้อหาที่แสดงถึงความรุนแรง หรือเนื้อหาที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเหลือง มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายกากบาท อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร น อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๑๓ และเครื่องหมาย +
ใช้สำหรับรายการที่เหมาะกับ ผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ ไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง
ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 20.30 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น.ของวันถัดไป
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเหลือง มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายกากบาท อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร น อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๑๘ และเครื่องหมาย +
ใช้สำหรับรายการที่เหมาะกับ ผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ จึงไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง
ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 22.00 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น.ของวันถัดไป
ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีแดง มีเครื่องหมายฟ้าผ่าอยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ฉ อีกแถวหนึ่งมีข้อความว่า เฉพาะผู้ใหญ่
ใช้สำหรับรายการเฉพาะผู้ใหญ่ อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา เด็กและเยาวชนไม่ควรรับชม ซึ่งเมื่อพบรายการลักษณะนี้ ไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชม เพราะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว สะเทือนใจ มีผลกระทบทางจิตใจ หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพที่มักจะเกี่ยวกับ บางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ เพื่อป้องกันการเลียนแบบของเด็ก จากเนื้อหาของรายการนั้นๆ
ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 24.00 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น. ของวันถัดไป

ละครเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาให้มีระดับความเหมาะสม ตามช่วงเวลาที่ดำเนินออกอากาศแล้ว

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย http://www.dhammadelivery.com/news-detail.php?news... http://news.sanook.com/entertain/entertain_66613.p... http://www.thaiedresearch.org/thaied_news/index1.p... http://www.tv5.co.th http://www.tv5.co.th/2007/icon_pro/manual.pdf http://www.tv5.co.th/2007/icon_pro/table_icon.pdf http://www.tv5.co.th/2007/icon_pro/video.htm http://intranet.prd.go.th/PdfDoc/Document/Secretar... http://www.prd.go.th/pdf/rating.pdf https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/law/doc...